Sustainable Development Goals (SDGs)
The Sustainable Development Goals are the blueprint to achieve a better and more sustainable future for all. They address the global challenges we face, including those related to poverty, inequality, climate change, environmental degradation, peace and justice. The 17 Goals are all interconnected, and in order to leave no one behind, it is important that we achieve them all by 2030.
เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมายเพื่อให้แน่ใจว่าโลกจะดีขึ้นภายในปี 2573. เป้าหมายเหล่านี้คือการเรียกร้องให้มีการดำเนินการเพื่อยุติความยากจน ปกป้องโลก และทำให้ทุกคนมีความสงบสุขและความมั่งคั่ง. เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมีแนวทางและเป้าหมายที่ชัดเจนสำหรับทุกประเทศเพื่อให้สอดคล้องกับลำดับความสำคัญในการพัฒนาของตนเอง เราควรจะเลือกทางเลือกที่เหมาะสมในการปรับปรุงชีวิตสำหรับคนรุ่นต่อๆไป.
1: No poverty ขจัดความยากจน
เป้าหมายที่ 1: ขจัดความยากจนทุกรูปแบบ ทุกสถานที่
ในทั่วโลก ผู้คนมากกว่า 800 ล้านคน ยังคงอยู่ได้ด้วยเงินน้อยกว่า 1.25 ดอลลาห์ต่อวัน หลายคนยังขาดการเข้าถึงอาหาร น้ำดื่มที่สะอาดและสุขอนามัยที่เพียงพอ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในประเทศ เช่น จีนและอินเดีย ได้ช่วยยกระดับประชากรออกจากความยากจน แต่ความเติบโตในเรื่องดังกล่าวก็ยังไม่มีความสม่ำเสมอเท่าใดนัก ประชากรผู้หญิงมีสัดส่วนที่อยู่ในความยากจนมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากการเข้าถึงที่ไม่เท่ากันในเรื่องค่าแรงงาน การศึกษาและทรัพย์สิน
SDGs มีเป้าหมายที่จะขจัดความยากจนในทุกรูปแบบให้แล้วเสร็จภายในปี 2573 ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่อาศัยอยู่ในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงในการเข้าถึงทรัพยากรและการบริการขั้นพื้นฐาน รวมถึงช่วยเหลือชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งและภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ
SDGs มีเป้าหมายที่จะขจัดความยากจนในทุกรูปแบบให้แล้วเสร็จภายในปี 2573 ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่อาศัยอยู่ในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงในการเข้าถึงทรัพยากรและการบริการขั้นพื้นฐาน รวมถึงช่วยเหลือชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งและภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ
2: Zero hunger ขจัดความหิวโหย
เป้าหมายที่ 2: ขจัดความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร ส่งเสริมเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและผลผลิตทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้นในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้ได้เห็นสัดส่วนของประชากรที่ขาดแคลนอาหารลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง ประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมากที่เคยได้รับความทุกข์จากความอดอยากและความหิวโหย ซึ่งในขณะนี้ ประเทศเหล่านั้นสามารถให้ความช่วยเหลือทางโภชนาการแก่ผู้ด้อยโอกาสได้เป็นจำนวนมาก มีความคืบหน้าอย่างมากในเรื่องการกำจัดความหิวโดยในภาคกลางและเอเชียตะวันออก ละตินอเมริกา และประเทศกลุ่มแคริบเบียน
เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) มุ่งมั่นที่จะขจัดความหิวโหยและความอดอยากทุกรูปแบบ ให้แล้วเสร็จภายในปี 2573 เพื่อให้แน่ใจว่าทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและผู้ด้อยโอกาสจำนวนมาก ได้รับการเข้าถึงอาหารที่เพียงพอและมีคุณค่าทางโภชนาการตลอดทั้งปี เป้าหมายนี้ยังเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเกษตรอย่างยั่งยืน การปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่และกำลังการผลิตของเกษตรกรรมขนาดเล็ก ที่ช่วยให้เข้าถึงแหล่งที่ดินทำกิน เทคโนโลยีและการตลาดอย่างเท่าเทียม นอกจากนี้ความร่วมมือระหว่างประเทศก็เป็นสิ่งสำคัญที่สร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เราจะสามารถยุติความอดอยากและความหิวโหยได้ภายในปี 2573 โดยดำเนินการร่วมกับเป้าหมายอื่นๆ ที่กำหนดไว้
3: Good health and well-being การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
เป้าหมายที่ 3: รับรองการมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนในทุกช่วงอายุ นับตั้งแต่การสร้างเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ซึ่งประสบผลสำเร็จอย่างมีคุณค่าในหน้าประวัติศาสตร์ จากการลดการเสียชีวิตของเด็ก การปรับปรุงสุขภาพของมารดาและการต่อสู้กับเชื้อเอชไอวี/ เอดส์ มาลาเรียและโรคอื่นๆ ตั้งแต่ปี 2533 สามารถป้องกันการเสียชีวิตของเด็กทั่วโลก โดยลดลงกว่า 50 % และการเสียชีวิตของมารดาก็สามารถลดลงได้ 45% ในทั่วโลก ภาวะการติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ที่เกิดขึ้นใหม่ สามารถลดลงได้ 30% ในระหว่างปี 2543 ถึงปี 2556 และมากกว่า 6,200,000 ชีวิตได้รับป้องกันจากโรคมาลาเรีย การเสียชีวิตเหล่านี้สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการป้องกันและการรักษา การศึกษา แคมเปญการสร้างภูมิคุ้มกันของโรคและการดูแลสุขภาพเพศและระบบสืบพันธุ์ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีความมุ่งมั่นที่จะยุติการระบาดของโรคเอดส์ วัณโรคมาลาเรียและโรคติดต่ออื่นๆ ภายในปี 2573 ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและจัดให้มีการเข้าถึงยาและวัคซีนอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสำหรับทุกคน การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาวัคซีนก็เป็นส่วนสำคัญของกระบวนการนี้เช่นเดียวกับการเข้าถึงยาในราคาที่เหมาะสม
กิจกรรม/โครงการ
1.วงประสานเสียงศาลายาหนุ่มสาวน่อยน้อย
หัวข้อ | รายละเอียด |
---|---|
ชื่อกิจกรรม/โครงการ | วงประสานเสียงศาลายาหนุ่มสาวน่อยน้อย |
ที่มาและความสำคัญ | การขับร้องประสานเสียงเป็นกิจกรรมที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุได้หลายด้าน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ซึ่งจะส่งผลไปถึงสุขภาพ เพราะการร้องเพลงนั้นต้องมีการร้องในท่าทางที่ถูกต้องและเหมาะสม และการเปล่งเสียงยังเป็นการฝึกให้ผู้ร้องได้ฝึกในการควบคุมลมหายใจซึ่งสามารถช่วยในการดูแลสุขภาพกายได้เป็นอย่างดี สามารถเห็นได้ว่าการร้องเพลงประสานเสียง เป็นกิจกรรมที่สามารถพัฒนาสุขภาพได้ครบทุกองค์ประกอบของการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ผู้สูงวัยอย่างยิ่ง |
ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม/โครงการ | เดือนมิถุนายน-ตุลาคม 2563 (โครงการต่อเนื่อง) |
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ | วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย | วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้สูงอายุ และบุคคลทั่วไป |
วัตถุประสงค์ | เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ผ่านการขับร้องประสานเสียง |
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ | โครงการประสานเสียงดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ ดำเนินการคัดเลือกผู้สมัครและทำการฝึกซ้อมตั้งแต่เดือนมิถุนายน ทุกวันเสาร์ เวลา 09:00-11:00 ณ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และทำการจัดการแสดงในรูปแบบของการทัวร์คอนเสิร์ต |
กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม | บุคคลทั่วไปผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ อายุระหว่าง 50 ปีขึ้นไป |
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม | ผู้สูงอายุจำนวน 100 คน |
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากกิจกรรม | คณะนักร้องประสานเสียงของมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นต้นแบบในการใช้การขับร้องประสานเสียงในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ, ผู้เข้าร่วมโครงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะด้านสุขภาพจิต |
Web link อ้างอิงการดำเนินงาน | https://www.facebook.com/salayatinyyoungchorus/ |
รูปภาพประกอบ | |
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ | 4 |
2. The Sound of Siree
หัวข้อ | รายละเอียด |
---|---|
ชื่อกิจกรรม/โครงการ | The Sound of Siree |
ที่มาและความสำคัญ | ดนตรีเป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่ส่งผลต่อมนุษย์ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เสียงดนตรีจึงเป็นอีกกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสุขภาพของประชาชนได้ จึงได้เกิดความร่วมมือจัดกิจกรรมดนตรี The Sound of Siree เพื่อเป็นสื่อกลางในการสร้างสุนทรียภาพด้านดนตรีให้กับผู้ที่เข้ามาใช้บริการของอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ |
ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม/โครงการ | วันศุกร์ เดือนธันวาคม 2563 เวลา 16:30-17:30 น. |
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ | อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ และระบบออนไลน์ |
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย | วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ |
วัตถุประสงค์ | เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยในการใช้ประโยชน์จากอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ เพื่อสร้างกิจกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสุขภาพของนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล และประชาชนผู้สนใจ, และเพื่อสร้างประสบการณ์ด้านดนตรี และพัฒนาทักษะการสื่อสารและจัดกิจกรรมของนักเรียนเตรียมอุดมดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ |
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ | การแสดงดนตรีกลุ่มเล็ก (Chamber Music) โดยนักเรียนจากหลักสูตรเตรียมอุดมดนตรีของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ บรรเลงเพลงฟังสบายหรือเป็นที่นิยม สลับกับทำเสวนาหรือกิจกรรมระหว่างนักดนตรีและผู้ฟัง พร้อมรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่มสมุนไพร |
กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม | นักศึกษา บุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลและบุคคลทั่วไป |
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม | จำนวน 50 คน |
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากกิจกรรม | ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดสุนทรียภาพด้านดนตรี มีความสุขและผ่อนคลายและเกิดความผูกพันกับมหาวิทยาลัยมหิดล, นักดนตรีได้รับประสบการณ์ด้านดนตรี และได้พัฒนาทักษะการสื่อสารและจัดกิจกรรม, และก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างอุทยานฯ และวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ในการจัดกิจกรรมต่อเนื่องต่อไป |
Web link อ้างอิงการดำเนินงาน | (อยู่ระหว่างการเตรียมการเพื่อดำเนินโครงการ) |
รูปภาพประกอบ | (อยู่ระหว่างการเตรียมการเพื่อดำเนินโครงการ) |
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ |
งานวิจัย
1. ดนตรีบำบัดเพื่อพัฒนาทักษะสังคมในเด็กที่ถูกทอดทิ้ง: การวิจัยกรณีศึกษากรณีเดี่ยว
หัวข้อ | รายละเอียด |
---|---|
ชื่องานวิจัย | ดนตรีบำบัดเพื่อพัฒนาทักษะสังคมในเด็กที่ถูกทอดทิ้ง: การวิจัยกรณีศึกษากรณีเดี่ยว |
คณะ/สาขาวิชา | สาขาวิชาดนตรี (ดนตรีบำบัด) วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ที่มาและความสำคัญ | ในต่างประเทศรยังคงมีการส่งเสริมทักษะสังคมกับเด็กที่ถูกทอดทิ้งในระดับที่น้อย ยิ่งไปกว่านั้นในประเทศไทยยังไม่ได้มีการนำเอาดนตรีบำบัดที่ถูกใช้โดยนักดนตรีบำบัดที่ผ่านการฝึกฝนมาแล้วมาใช้กับกลุ่มของเด็กที่ถูกทอดทิ้งเพื่อพัฒนาทักษะสังคม |
ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา | ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นเด็กซึ่งอาศัยอยู่ในมูลนิธิเด็กโรงเรียนอนุบาลหมู่บ้านเด็กสานรัก |
วัตถุประสงค์ | เพื่อศึกษาผลของดนตรีบำบัดที่มีต่อทักษะสังคมในเด็กที่ถูกทอดทิ้ง โดยศึกษาทักษะสังคมทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ทักษะสังคมขั้นพื้นฐาน การมีส่วนร่วมกับผู้อื่น การสลับผลัดเปลี่ยนในกิจกรรม การมีสมาธิในการทำกิจกรรมกับผู้อื่น การปฏิบัติตามคำสั่ง และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น นอกจากนี้งานวิจัยฉบับนี้มีคำถามงานวิจัย คือ ดนตรีบำบัดสามารถช่วยส่งเสริมทักษะสังคมของเด็กที่ถูกทอดทิ้งได้หรือไม่ |
แหล่งทุนสนับสนุน | – |
หน่วยงานที่ร่วมมือ | มูลนิธิเด็กโรงเรียนอนุบาลหมู่บ้านเด็กสานรัก |
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย | ผู้วิจัย, ผู้เข้าร่วมการวิจัย |
ระดับความร่วมมือ | ระดับท้องถิ่น |
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ | ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านอารมณ์ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านร่างกาย และความพึงพอใจโดยรวม ซึ่งการวิจัยครั้งนี้สนับสนุนว่าดนตรีบำบัดนั้นช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งในการดูแลแบบประคับประคอง (ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ: 15(2) กรกฎาคม-ธันวาคม 2562) |
Web link อ้างอิงการดำเนินงาน | https://rs.mahidol.ac.th/rs-journal/vol.15/02-01.pdf |
รูปภาพประกอบ | – |
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ | 1, 4 |
2. ดนตรีบำบัดเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งในการดูแลแบบประคับประคอง: การวิจัยกรณีศึกษา
หัวข้อ | รายละเอียด |
---|---|
ชื่องานวิจัย | ดนตรีบำบัดเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งในการดูแลแบบประคับประคอง: การวิจัยกรณีศึกษา |
คณะ/สาขาวิชา | สาขาวิชาดนตรี (ดนตรีบำบัด) วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ที่มาและความสำคัญ | ในปัจจุบันพบว่ายังไม่มีรายงานให้การสนับสนุนในประเด็นที่เกี่ยวกับดนตรีบำบัดที่ถูกนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในประเทศไทยซึ่งเป็นการให้บริการโดยนักดนตรีบำบัดที่ผ่านการอบรมแล้ว |
ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา | ผู้ป่วย ผู้ดูแล และพยาบาลในโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ สำนักการแพทย์ กรุงเพทมหานคร |
วัตถุประสงค์ | เพื่อศึกษาผลของดนตรีบำบัดในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งในการดูแลแบบประคับประคอง |
แหล่งทุนสนับสนุน | – |
หน่วยงานที่ร่วมมือ | โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร |
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย | ผู้วิจัย, ผู้เข้าร่วมการวิจัย |
กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม | ผู้วิจัย, ผู้เข้าร่วมการวิจัย |
ระดับความร่วมมือ | ระดับท้องถิ่น |
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ | ได้ทราบถึงผลของดนตรีบำบัดที่มีต่อทักษะสังคมในเด็กที่ถูกทอดทิ้งและพบว่าดนตรีบำบัดช่วยส่งเสริมทักษะสังคมของเด็กที่ถูกทอดทิ้งได้ (ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ: 15(1) มกราคม-มิถุนายน 2562) |
Web link อ้างอิงการดำเนินงาน | https://rs.mahidol.ac.th/rs-journal/vol.15/1.pdf |
รูปภาพประกอบ | – |
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ | – |
รายวิชา
1. ดศดบ ๕๐๕ เทคนิคทางคลินิกในดนตรีบำบัดสำหรับเด็ก
หัวข้อ | รายละเอียด |
---|---|
รหัสวิชา | ดศดบ ๕๐๕ |
ชื่อรายวิชา | เทคนิคทางคลินิกในดนตรีบำบัดสำหรับเด็ก |
หลักสูตร | หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี |
รายละเอียด | ข้อมูลและงานวิจัยด้านดนตรีบำบัดสำหรับเด็กและเยาวชน ที่มีความผิดปกติ ด้านอารมณ์ พฤติกรรม หรือมีปัญหาด้านสุขภาพ ซึ่งสามารถใช้ดนตรีบำบัดได้ มีการสอนเกี่ยวกับทักษะที่จำเป็นในการประกอบอาชีพในอนาคตทางคลินิกและพัฒนาความสามารถในการเขียนบทความทางวิชาการทางคลินิก |
ภาควิชาหลัก | สาขาวิชาดนตรีบำบัด |
ประเภท | ทฤษฎี |
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ | – |
2. ดศดบ ๕๐๖ เทคนิคทางคลินิกในดนตรีบำบัดสำหรับผู้ใหญ่
หัวข้อ | รายละเอียด |
---|---|
รหัสวิชา | ดศดบ ๕๐๖ |
ชื่อรายวิชา | เทคนิคทางคลินิกในดนตรีบำบัดสำหรับผู้ใหญ่ |
หลักสูตร | หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี |
รายละเอียด | ข้อมูลและงานวิจัยด้านดนตรีบำบัดสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงวัย ที่มีความผิดปกติ ด้านอารมณ์ พฤติกรรม หรือมีปัญหาด้านสุขภาพ ซึ่งสามารถใช้ดนตรีบำบัดได้ มีการสอนเกี่ยวกับทักษะที่จำเป็นในการประกอบอาชีพในอนาคตทางคลินิกและพัฒนาความสามารถในการเขียนบทความทางวิชาการทางคลินิก |
ภาควิชาหลัก | สาขาวิชาดนตรีบำบัด |
ประเภท | ทฤษฎี |
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ | – |
3. ดศดบ ๕๐๗ การปฏิบัติงานดนตรีบำบัด
หัวข้อ | รายละเอียด |
---|---|
รหัสวิชา | ดศดบ ๕๐๗ |
ชื่อรายวิชา | การปฏิบัติงานดนตรีบำบัด |
หลักสูตร | หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี |
รายละเอียด | ประสบการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในคลินิกโดยเน้นการพัฒนาและฝึกฝนการตัดสินใจ การสังเกต การซักประวัติ การบันทึกรายงานและพัฒนาความรู้ความเข้าใจในปัญหาที่เกี่ยวกับพยาธิสภาพและภาวะทุพพลภาพ โดยมีการออกแบบและเลือกใช้ดนตรีบำบัดที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้รับบริการแต่ละกลุ่ม |
ภาควิชาหลัก | สาขาวิชาดนตรีบำบัด |
ประเภท | ทฤษฎี |
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ | – |
4: Quality education การศึกษาที่เท่าเทียม
เป้าหมายที่ 4: รับรองการศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน
ตั้งแต่ปี 2543 มีความคืบหน้าเป็นอย่างมากในการบรรลุเป้าหมายเรื่องของผู้ที่ได้รับการศึกษาในระดับประถมศึกษา อัตราการลงทะเบียนเรียนรวมในประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 91 ในปี 2558 และจำนวนของเด็กทั่วโลกที่ไม่ได้รับการศึกษาลดลงได้เกือบครึ่งหนึ่ง นอกจากนี้ อัตราผู้ที่มีความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ยังเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก และเด็กผู้หญิงได้ไปโรงเรียนมากขึ้นกว่าเดิม สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความสำเร็จอันยอดเยี่ยม
การประสบความสำเร็จครอบคลุมถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ซึ่งตอกย้ำความเชื่อที่พิสูจน์แล้วว่าการศึกษาเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป้าหมายนี้ทำให้แน่ใจว่าเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายทุกคนจะได้รับสำเร็จศึกษาฟรีในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดให้มีการฝึกอบรมอาชีพในราคาที่เหมาะสมอย่างเท่าเทียมกัน และขจัดความไม่เสมอภาคทางเพศและความเหลื่อมล้ำ ด้วยความมุ่งหมายที่จะประสบผลสำเร็จในการเข้าถึงหลักสากลเพื่อการศึกษาที่สูงขึ้นอย่างมีคุณภาพ
รายวิชา
หัวข้อ | รายละเอียด |
---|---|
รหัสวิชา | ดศดศ ๕๒๐ |
ชื่อรายวิชา | การพัฒนาดนตรีสู่ชุมชน |
หลักสูตร | หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี |
รายละเอียด | การพัฒนาดนตรีสู่ชุมชน ครูดนตรีมีหน้าที่พัฒนาการศึกษาดนตรี สร้างให้เด็กได้เรียน ได้รู้ และได้รักดนตรี ครูดนตรีมีหน้าที่พัฒนาวิชาดนตรีให้เป็นที่รู้จักในชุมชน สามารถที่จะใช้ประโยชน์ในชุมชนได้ ดนตรีสำหรับงานสังสรรค์รื่นเริง ดนตรีในงานพิธีกรรม ดนตรีงานศพ งานแต่งงาน หรือดนตรีประกอบงานพิธีการต่างๆ เพื่อให้ดนตรีในโรงเรียนเป็นที่รู้จักของชุมชน เป็นความภูมิใจของชุมชน ของเด็ก และของพ่อแม่ผู้ปกครอง วิธีการพัฒนาวิชาดนตรี รวมทั้งการหาผู้สนับสนุนวงดนตรี |
ภาควิชาหลัก | สาขาวิชาดนตรีศึกษา |
ประเภท | ทฤษฎี |
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ | 10, 11, 16 |
5: Gender equality ความเท่าเทียมทางเพศ
เป้าหมายที่ 5: บรรลุความเท่าเทียมทางเพศ พัฒนาบทบาทสตรีและเด็กผู้หญิง
ตั้งแต่ปี 2543 UNDP ร่วมกับ พันธมิตรของ UN และประชาคมโลกให้ความเสมอภาคทางเพศเป็นศูนย์กลางในการทำงาน และพวกเราได้เห็นความสำเร็จอันน่าประทับใจ มีผู้หญิงจำนวนมากขึ้นที่ได้เรียนในโรงเรียน เมื่อเทียบกับ 15 ปีที่ผ่านมา และในภูมิภาคส่วนใหญ่ ก็มีความเท่าเทียมกันทางเพศในการศึกษาระดับประถมศึกษา ในขณะนี้ ผู้หญิงสามารถทำงานนอกบ้านและได้รับค่าแรงจากงาน ที่ไม่ใช่ทำการเกษตรได้ถึง 41% เมื่อเทียบปี 2533 ซึ่งมีเพียง 35%
SDGs มีจุดหมายที่จะสร้างความสำเร็จเหล่านี้เพื่อให้แน่ใจว่ามีการยุติการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงและเด็กผู้หญิงในทุกที่ แต่ในบางภูมิภาคยังคงมีความไม่เท่าเทียมกันในเบื้องต้นสำหรับการเข้าถึงค่าจ้าง และยังคงมีช่องว่างที่มีนัยสำคัญระหว่างชายและหญิงในตลาดแรงงาน ความรุนแรงทางเพศและการละเมิดทางเพศ การใช้แรงงานที่ผิดกฎหมาย และการแบ่งแยกชนชั้นของประชาชนยังคงเป็นอุปสรรคใหญ่ในเรื่องนี้
6: Clean water and sanitation การจัดการน้ำและสุขาภิบาล
เป้าหมายที่ 6: รับรองการมีน้ำใช้ การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน
ปัญหาการขาดแคลนน้ำส่งผลกระทบต่อประชาชนทั่วโลกมากกว่า 40 % สิ่งที่น่าตกใจคือคาดว่าจะมีการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แม้ว่าประชาชน 2,100 ล้านคน ได้รับการเข้าถึงการสุขาภิบาลน้ำที่ดีขึ้นตั้งแต่ปี 2533 แต่การขาดแคลนอุปกรณ์สำหรับน้ำดื่มที่ปลอดภัยยังคงเป็นปัญหาหลักที่ส่งผลกระทบต่อทุกทวีป
ภายในปี 2573 การทำให้มีน้ำดื่มที่ปลอดภัยและราคาเหมาะสม จำเป็นต้องมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม โดยจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขอนามัยและส่งเสริมสุขอนามัยในทุกระดับ ปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศน์ที่เกี่ยวข้องกับน้ำ เช่น ป่าไม้ ภูเขาและแม่น้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องดูแล ถ้าหากเราจะลดการขาดแคลนน้ำ นอกจากนี้ ความร่วมมือระหว่างประเทศ ยังเป็นสิ่งจำเป็นที่จะส่งเสริมให้มีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพและสนับสนุนเทคโนโลยีการบำบัดน้ำในประเทศที่กำลังพัฒนา
7: Affordable and clean energy พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้
เป้าหมายที่ 7: รับรองการมีพลังงานที่ทุกคนเข้าถึงได้ เชื่อถือได้ ยั่งยืนทันสมัย
ระหว่างปี 2533 ถึงปี 2553 จำนวนประชากรมีการเข้าถึงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 1,700 ล้านคนทั่วโลกและยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงมีการเรียกร้องถึงพลังงานราคาถูก เศรษฐกิจทั่วโลกพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลและการเพิ่มขึ้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งนั่นคือการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงต่อระบบภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลถึงทุกทวีปทั่วโลก
ภายในปี 2573 มีเป้าหมายที่จะทำให้เกิดการผลิตไฟฟ้าที่เหมาะสมในทุกที่ ซึ่งหมายถึงการลงทุนในแหล่งพลังงานสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลมและพลังงานความร้อน การนำมาตรฐานการประหยัดค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพมาใช้ในอาคารและอุตสาหกรรมสำหรับความหลากหลายของเทคโนโลยียังสามารถลดการใช้ไฟฟ้าทั่วโลกได้ 14% ซึ่งหมายถึงการลดการใช้งานโรงไฟฟ้าขนาดกลาง ประมาณ 1,300 แห่ง การขยายโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้มีแหล่งที่มาของพลังงานสะอาดในประเทศที่กำลังพัฒนา เป็นเป้าหมายสำคัญที่ทั้งการขยายโครงสร้างและการพัฒนาเทคโนโลยีสามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตและช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมได้
8: Decent work and economic growth การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
เป้าหมายที่ 8: ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องครอบคลุมและยั่งยืน การจ้างงานที่มีคุณค่า
มากกว่า 25 ปีที่ผ่านมา จำนวนคนงานที่ประสบปัญหาความยากจนได้ลดลงอย่างมาก แม้จะมีผลกระทบที่ยาวนานของวิกฤตเศรษฐกิจจากปี 2551/2552 ในประเทศที่กำลังพัฒนา ชนชั้นกลางถือเป็น 34% ของการจ้างงานทั้งหมด โดยตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นกว่าสามเท่าจากปี 2534 ถึง 2558
เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนโดยบรรลุเป้าหมายการผลิตในระดับที่สูงขึ้นและผลิตผ่านนวัตกรรมทางเทคโนโลยี สนับสนุนนโยบายที่ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการและการสร้างงานซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในเรื่องนี้ เช่นเดียวกับมาตรการที่มีประสิทธิภาพที่จะกำจัดการบังคับใช้แรงงานทาสและการค้ามนุษย์ ด้วยเป้าหมายเหล่านี้ ภายในปี 2573 เราต้องการให้เกิดการจ้างงานเต็มรูปแบบและมีประสิทธิภาพ และการทำงานที่เหมาะสมสำหรับผู้หญิงและผู้ชายทุกคน
9: Industry, innovation and infrastructure อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน
เป้าหมายที่ 9: อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก็เป็นกุญแจสำคัญในการหาทางแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนให้กับความท้าทายทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดให้มีชิ้นงานใหม่และส่งเสริมประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน การส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนและการลงทุนในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม เหล่านี้เป็นวิธีที่สำคัญที่จะช่วยสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน
การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและนวัตกรรมเป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนา 17 ข้อ ที่อยู่ในวาระการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) วิธีการแบบบูรณาการเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดความคืบหน้าไปยังเป้าหมายอื่นๆ
รายวิชา
1. ดศดษ ๕๐๖ นวัตกรรมและเทคโนโลยีดนตรีศึกษา
หัวข้อ | รายละเอียด |
---|---|
รหัสวิชา | ดศดษ ๕๐๖ |
ชื่อรายวิชา | นวัตกรรมและเทคโนโลยีดนตรีศึกษา |
หลักสูตร | หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี |
รายละเอียด | นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการสอนดนตรีในประเทศไทย การใช้อินเทอร์เน็ตในห้องเรียนดนตรี การใช้เทคโนโลยีในการการปฏิบัติทางดนตรี คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอร์สแวร์ การออกแบบการเรียนการสอน แนวโน้มและประเด็นสำคัญในการสอนนวัตกรรมและเทคโนโลยีในดนตรีศึกษา |
ภาควิชาหลัก | สาขาวิชาดนตรีศึกษา |
ประเภท | ทฤษฎี |
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ | – |
2. ดศธด ๕๐๘ นวัตกรรมและเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมดนตรี
หัวข้อ | รายละเอียด |
---|---|
รหัสวิชา | ดศธด ๕๐๘ |
ชื่อรายวิชา | นวัตกรรมและเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมดนตรี |
หลักสูตร | หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี |
รายละเอียด | พัฒนาการของเทคโนโลยีและนวัตกรรมในธุรกิจดนตรี สื่อสมัยใหม่ที่ส่ง ผลกระทบต่อการ พัฒนาศักยภาพของธุรกิจในด้านต่างๆ การผลิต การจัดการ การตลาด และการขายงานทางดนตรี การสร้าง นวัตกรรมทางดนตรีด้วยเทคโนโลยี ปัญหาและแนวทางแก้ไขในการสร้างนวัตกรรมทางดนตรี |
ภาควิชาหลัก | สาขาวิชาธุรกิจดนตรี |
ประเภท | ทฤษฎี |
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ | – |
3. ดศดษ ๕๑๗ นวัตกรรมการสอนดนตรีสำหรับเด็กเล็ก
หัวข้อ | รายละเอียด |
---|---|
รหัสวิชา | ดศดษ ๕๑๗ |
ชื่อรายวิชา | นวัตกรรมการสอนดนตรีสำหรับเด็กเล็ก |
หลักสูตร | หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี |
รายละเอียด | ยุทธวิธีปฏิบัติ การสอนสำหรับการสอนดนตรีสำหรับเด็ก ปรัชญา หลักสูตรและปัจจัยทางร่างกาย สังคม และอารมณ์ที่ส่งผลต่อการได้รับทักษะทางดนตรี การประยุกต์และเทคนิคการสอนตามแนวโคดาย ออร์ฟ ดาลโครช และอื่นๆ การรวบรวมบทเพลง วรรณกรรมและวิธีการสอนที่ทันสมัยสำหรับการสอนดนตรีในเด็ก ผ่านการฝึกสอนโดยวิธีสะท้อนกลับกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน |
ภาควิชาหลัก | สาขาวิชาดนตรีศึกษา |
ประเภท | ทฤษฎี |
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ | – |
10: Reduced inequalities ลดความเหลื่อมล้ำ
เป้าหมายที่ 10: ลดความเหลื่อมล้ำทั้งภายในและระหว่างประเทศ
จากรายงานที่ว่าความไม่เท่าเทียมของรายได้มีอัตราเพิ่มขึ้น 10% ของคนร่ำรวยที่สุด มีรายได้เป็น 40% ของรายได้รวมทั่วโลก ผู้ที่ยากจนที่สุด 10% ทำได้รายได้เพียง 2 – 7% ของรายได้รวมทั่วโลก ในประเทศกำลังพัฒนา ความไม่เท่าเทียมเพิ่มขึ้น 11 % ตามการเจริญเติบโตของประชากร
ความไม่เท่าเทียมด้านรายได้เป็นปัญหาระดับโลกที่ต้องการการแก้ไข ซึ่งปัญหานี้เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงกฎระเบียบข้อบังคับ การตรวจสอบของตลาดการเงินและสถาบันด้านการเงิน การส่งเสริมการช่วยเหลือด้านการพัฒนา และการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติไปยังภูมิภาคที่มีความจำเป็นมากที่สุด การอำนวยความสะดวกในการอพยพย้ายถิ่นที่ปลอดภัยและการเคลื่อนย้ายของผู้คนก็เป็นสิ่งสำคัญในการแก้ไขปัญหาการแบ่งเขตแดน
11: Sustainable cities and communities เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน
เป้าหมายที่ 11: ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัย ทั่วถึง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างยั่งยืน
การเติบโตอย่างรวดเร็วของเมืองในประเทศที่กำลังพัฒนา ควบคู่ไปกับการเพิ่มขึ้นในการย้ายถิ่นฐานจากชนบทสู่เมือง ซึ่งนำไปสู่ความเจริญในเมืองขนาดใหญ่ ในปี 2553 มี 10 เมืองใหญ่ที่มีพลเมืองจำนวน 10 ล้านคนหรือมากกว่านั้น ในปี 2557 มีเมืองขนาดใหญ่ถึง 28 เมือง ผู้อยู่อาศัยรวม 453,000,000 คน
ความยากจนมักจะกระจุกตัวอยู่ในเมือง รัฐบาลระดับชาติและระดับท้องถิ่นต้องพยายามจัดการเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากรในพื้นที่เหล่านั้น การทำให้เมืองปลอดภัยและยั่งยืน หมายถึง การทำให้เข้าถึงที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยและเหมาะสมและพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของชุมชนแออัด นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการลงทุนเรื่องการขนส่งสาธารณะ การสร้างพื้นที่สาธารณะสีเขียวและการปรับปรุงการวางผังเมืองและการจัดการในลักษณะแบบมีส่วนร่วม
งานวิจัย
หัวข้อ | รายละเอียด |
---|---|
ชื่องานวิจัย | กระบวนการเรียนรู้ดนตรีจากคณะแตรวงสู่นักดนตรีรุ่นเยาว์ กรณีศึกษาการร่วมบรรเลงแตรวงของนักเรียนโรงเรียนช่องพรานวิทยาในอําเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี |
คณะ/สาขาวิชา | วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ที่มาและความสำคัญ | แตรวงชาวบ้านเป็นดนตรีที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตสังคมและวัฒนธรรมของประชาชน แต่เนื่องจากสภาพการณ์ในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป ทำให้คณะแตรวงต้องปรับปรุงแนวทางวิธีการเรียนรู้ถ่ายทอดดนตรีในการบรรเลงให้เหมาะสมกับยุคสมัย โดยเฉพาะภาครัฐที่ได้มีการรณรงค์ให้เยาวชนได้เห็นความสำคัญของการเล่นดนตรี ซึ่งใช้ดนตรีเป็นกิจกรรมหลักในการสร้างสัมพันธภาพ เป็นการส่งเสริมให้เยาวชนหันมาทำกิจกรรมด้านดนตรีและอนุรักษ์ดนตรีประเภทต่างๆ รวมทั้งแตรวงด้วย |
ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา | ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นนักเรียนในโรงเรียนช่องพรานวิทยาอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี |
วัตถุประสงค์ | เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้ดนตรี ซึ่งประกอบด้วย ขั้นตอนการเรียนวิธีการถ่ายทอด และการวัดผล จากคณะแตรวงสู่นักดนตรีรุ่นเยาว์ |
แหล่งทุนสนับสนุน | – |
หน่วยงานที่ร่วมมือ | โรงเรียนช่องพรานวิทยาอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี |
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย | ผู้วิจัย, ผู้เข้าร่วมการวิจัย |
ระดับความร่วมมือ | ระดับท้องถิ่น |
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ | ได้ทราบถึงกระบวนการเรียนรู้ดนตรีจากคณะแตรวงที่ถ่ายทอดสู่นักดนตรีรุ่นเยาว์ ซึ่งทำให้เข้าใจในกระบวนการการสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่นอย่างเป็นรูปธรรม (ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น: 11(1) มกราคม-มิถุนายน 2562) |
Web link อ้างอิงการดำเนินงาน | https://www.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/download/199393/139144 |
รูปภาพประกอบ | – |
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ | – |
12: Responsible consumption and production แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน
เป้าหมายที่ 12: รับรองแผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน
การที่จะบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นต้องลดรอยเท้าทางนิเวศลงอย่างเร่งด่วน โดยการเปลี่ยนแปลงการผลิตและการบริโภคสินค้าและทรัพยากร การเกษตรกรรมเป็นผู้ใช้น้ำรายใหญ่ที่สุดในโลก และในขณะนี้มีการจัดการน้ำให้ถึง 70% ของผู้ใช้น้ำทั้งหมด
การจัดการการใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและวิธีการกำจัดขยะที่เป็นพิษและมลพิษเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายนี้ การส่งเสริมให้มีการรีไซเคิลและลดขยะมูลฝอยในอุตสาหกรรม ธุรกิจและผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญเท่าเทียมกับการสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาเพื่อก้าวเข้าสู่แผนการบริโภคที่ยั่งยืนภายในปี 2573
13: Climate action การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เป้าหมายที่ 13: ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ
ไม่มีประเทศใดในโลกที่ไม่เห็นผลกระทบอันรุนแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังคงเพิ่มขึ้น และตอนนี้เพิ่มขึ้นจากปี 2533 มากกว่า 50% นอกจากนี้ ภาวะโลกร้อนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอันยาวนานกับระบบสภาพภูมิอากาศ ซึ่งผลลัพธ์ที่ตามมาอาจไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าหากไม่เริ่มดำเนินการในตอนนี้
การสร้างความเข้มแข็ง ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัวของภูมิภาคที่มีความเสี่ยง เช่น ประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล และประเทศที่เป็นเกาะ จำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อพยายามสร้างความตระหนักรู้และบูรณาการมาตราการเข้าไปในนโยบายและกลยุทธ์ระดับชาติ ซึ่งยังคงมีความเป็นไปได้ด้วยเจตจำนงทางการเมืองและความหลากหลายของมาตรการทางเทคโนโลยีที่สามารถจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกได้ถึงสององศาเซลเซียสซึ่งจำกัดได้มากกว่าก่อนยุคอุตสาหกรรม สิ่งนี้จำเป็นต้องดำเนินการร่วมกันอย่างเร่งด่วน
14: Life Below Water การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล
เป้าหมายที่ 14: อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ผู้คนกว่าสามพันล้านคนใช้ชีวิตขึ้นอยู่กับความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลและชายฝั่ง แต่ในปัจจุบันนี้เราจะเห็นได้ว่า 30% ของปลาทะเลของโลกได้ถูกใช้ไปเกินขนาด ซึ่งต่ำกว่าระดับที่พวกเขาสามารถผลิตผลตอบแทนที่ยั่งยืนให้ได้
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) สร้างกรอบการทำงานเพื่อการจัดการอย่างยั่งยืนและปกป้องระบบนิเวศทางชายฝั่งและทางทะเลจากภาวะมลพิษจากแหล่งบนบก ตลอดจนจัดการปัญหาผลกระทบของการเป็นกรดของมหาสมุทร เสริมสร้างการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของทรัพยากรทะเลผ่านกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งจะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นกับมหาสมุทร
15: Life on land การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก
เป้าหมายที่ 15: ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน
ในปัจจุบันนี้เราจะเห็นความเสื่อมโทรมของที่ดินแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และการสูญเสียที่ดินทำกิน 30 – 35 ครั้ง ภัยแล้งและการแปรสภาพเป็นทะเลทรายก็ยังคงเพิ่มขึ้นในแต่ละปี รวมจำนวนการสูญเสียถึง 12 ล้านเฮกเตอร์ และส่งผลกระทบต่อชุมชนที่ยากจนทั่วโลก จาก 8,300 สายพันธุ์สัตว์ที่เป็นที่รู้จัก มีจำนวน 8% ที่กำลังจะสูญพันธุ์และอีก 22% มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) มุ่งมั่นที่จะอนุรักษ์และฟื้นฟูประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก อาทิ ป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่กึ่งแห้งแล้ง และภูเขา ภายในปี 2563 การส่งเสริมการจัดการป่าอย่างยั่งยืนและแก้ไขการตัดไม้ทำลายป่าก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ควรต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อที่จะลดการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพที่ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมร่วมกันของเรา
16: Peace, justice and strong institutions สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก
เป้าหมายที่ 16: ส่งเสริมสังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
สันติภาพ ความมั่นคง สิทธิมนุษยชนและการปกครองที่มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของหลักนิติธรรมเป็นการรวมกันที่สำคัญเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เราอาศัยอยู่ในโลกที่ถูกแบ่งแยกมากขึ้น บางภูมิภาคได้รับสิทธิ์ในความสงบ การรักษาความปลอดภัย ความเจริญ อย่างเต็มที่และต่อเนื่อง ในขณะที่ภูมิภาคอื่นตกอยู่ในวงจรของความขัดแย้งและความรุนแรงที่ดูเหมือนว่าจะไม่มีวันสิ้นสุด ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถหลีกเลี่ยงได้และควรจะต้องได้รับการแก้ไข
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) มุ่งมั่นที่จะลดความรุนแรงทุกรูปแบบ พร้อมทำงานร่วมกับรัฐบาลและชุมชนเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและความไม่มั่นคงอย่างยั่งยืน การส่งเสริมการปกครองด้วยกฎหมายและการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เป็นกุญแจสำคัญในกระบวนการนี้เช่นเดียวกับการลดอาวุธผิดกฎหมาย ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประเทศกำลังพัฒนาในสถาบันการปกครองทั่วโลก
17: Partnerships for the goals ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
เป้าหมายที่ 17: สร้างพลังแห่งการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ในโลกยุคปัจจุบันมีการเชื่อมต่อกันมากขึ้นกว่าเดิม การพัฒนาในการเข้าถึงเทคโนโลยีและความรู้เป็นสิ่งสำคัญในการแบ่งปันความคิดและสนับสนุนนวัตกรรม การประสานงานด้านนโยบายจะช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถจัดการหนี้ได้ เช่นเดียวกับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการพัฒนาเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ประสบผลในการเติบโตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เป้าหมายนี้มุ่งมั่นที่จะเพิ่มความร่วมมือระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา (North-South) และความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (South-South) โดยการสนับสนุนแผนระดับชาติเพื่อการบรรลุเป้าหมาย ส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศและช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มอัตราการส่งออก ซึ่งนี่คือส่วนประกอบทั้งหมดที่จะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในหลักเกณฑ์สากลและระบบการค้าที่เสมอภาค ซึ่งเป็นสิ่งที่ยุติธรรม เปิดกว้างและเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย