Doctor of Philosophy in Music

Program Overview

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตประกอบไปด้วย 2 สาขาวิชาเอก ได้แก่วิชาเอกดนตรีศึกษาและวิชาเอกดนตรีวิทยา สำหรับสาขาวิชาเอกดนตรีศึกษามีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การสร้างผู้ให้การศึกษาทางดนตรีที่เปี่ยมวิสัยทัศน์และตระหนักถึงสภาวการณ์ในปัจจุบันและอนาคตของศาสตร์แขนงนี้ อีกทั้งฝึกฝนอาจารย์ผู้มีความคิดสร้างสรรค์ มีความเข้าใจในแก่นของวิชาอย่างลึกซึ้งและสามารถประยุกต์ใช้หลักการต่างๆ ในการสอนนักเรียนที่มีความหลากหลายได้อย่างชำนาญ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการสร้างนักพัฒนาที่มีส่วนสำคัญต่อการเติบโตของการศึกษาทางด้านดนตรี มีทักษะและความรู้ในการเป็นผู้บริหารการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ในส่วนของสาขาวิชาเอกดนตรีวิทยาจะเน้นไปที่การสร้างนักวิชาการชั้นเลิศที่มีความชำนาญทั้งดนตรีตะวันออก และตะวันตกไปจนถึงนักวิจัย และอาจารย์ผู้สามารถหลอมรวมความรู้ในศาสตร์ต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจในสิ่งใหม่ๆ และภูมิปัญญาให้กับสังคม

นักศึกษาในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตจะถูกฝึกให้มีทักษะในเชิงวิชาการระดับสูง มีความเป็นเลิศในการใช้ความคิดเชิงวิพากษ์ การวิเคราะห์ และความสามารถในการนำเสนอผลงานในที่สาธารณะทั้งในรูปแบบของการเขียนและการบรรยาย ทั้งในระดับประเทศ และระดับสากล

Program Structure

ชั้นปีภาคเรียนที่ 1ภาคเรียนที่ 2
1ดศดน ๗๐๑ ระเบียบวิธีวิจัยดนตรีเชิงปริมาณ ๒ (๒-๐-๔)
ดศดว ๖๔๓ ทัศนะและประเด็นร่วมสมัยในดนตรีวิทยา ๒ (๒-๐-๔)
ดศดว ๖๔๖ ประเด็นศึกษางานวิจัยในดนตรีตะวันออก ๒ (๒-๐-๔)
วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า ๒ หน่วยกิต

รวม ๘ หน่วยกิต
ดศดน ๗๐๒ ระเบียบวิธีวิจัยดนตรีเชิงคุณภาพและแบบผสม ๒ (๒-๐-๔)
ดศดว ๖๔๐ โครงงานดนตรีในระดับดุษฎีบัณฑิต ๒ (๑-๒-๓)
ดศดว ๖๔๗ ประเด็นศึกษางานวิจัยในดนตรีตะวันตก ๒ (๒-๐-๔)
วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า ๒ หน่วยกิต

รวม ๘ หน่วยกิต
2สอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination)
ดศดน ๖๙๙ วิทยานิพนธ์ ๙ (๐-๒๗-๐)

รวม ๙ หน่วยกิต
ดศดน ๖๙๙ วิทยานิพนธ์ ๙ (๐-๒๗-๐)

รวม ๙ หน่วยกิต
3ดศดน ๖๙๙ วิทยานิพนธ์ ๙ (๐-๒๗-๐)

รวม ๙ หน่วยกิต
ดศดน ๖๙๙ วิทยานิพนธ์ ๙ (๐-๒๗-๐)

รวม ๙ หน่วยกิต