หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย ชื่อเต็ม: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ดนตรี)
ชื่อย่อ: ปร.ด.(ดนตรี)
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม: Doctor of Philosophy (Music)
ชื่อย่อ: Ph.D. (Music)
วิชาเอก 2 วิชาเอก
ปรัชญาความสำคัญของหลักสูตร
นักวิชาการดนตรีเป็นทั้งคนดีและคนเก่ง สามารถบูรณาการศาสตร์ดนตรีเพื่อพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมไทย
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 52 หน่วยกิต
ภาษาที่ใช้
ภาษาไทย
วัน – เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน จัดการเรียนการสอนในวัน-เวลาราชการ
ระยะเวลาการจัดการเรียนการสอน
ศึกษาในชั้นเรียน | ระยะเวลา 1 ปี |
จัดทำวิทยานิพนธ์ | ระยะเวลา 2 ปี |
รวม | ระยะเวลา 3 ปี |
โครงสร้างหลักสูตร
จัดการศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2558 หลักสูตรปริญญาเอก แบบ 2 ดังนี้
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน | ไม่นับหน่วยกิต |
หมวดวิชาแกน | 6 หน่วยกิต |
หมวดวิชาบังคับ | 6 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเลือก | 4 หน่วยกิต |
วิทยานิพนธ์ | 36 หน่วยกิต |
รวม | 52 หน่วยกิต |
หมายเหตุ :
สำหรับนักศึกษาที่ไม่มีความรู้พื้นฐานตามเกณฑ์มาตรฐานที่หลักสูตรกำหนด คณะกรรมการบริหารหลักสูตรจะให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนรายวิชาปรับพื้นฐานบางรายวิชาเพิ่มเติมโดยไม่นับหน่วยกิต
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำวิทยานิพนธ์
ข้อกำหนดในการทำวิทยานิพนธ์ ต้องเป็นงานวิจัยในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความรู้ด้านดนตรีหรือการประยุกต์ความรู้ด้านดนตรี โดยต้องนำส่งตามรูปแบบและระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนดอย่างเคร่งครัด
การศึกษาดูงาน
นักศึกษาทุกคนต้องเข้าร่วมการศึกษาดูงานทางวิชาการ หรือเข้าร่วมการประชุม หรืองานแสดงในระดับนานาชาติที่สอดคล้องกับสาขาวิชาที่ตนกำลังศึกษา
ค่าเทอม และค่าธรรมเนียม
วิชาเอก | แผนการเรียน | Semester 1 | Semester 2 | Semester 3 | Semester 4 | Semester 5 | Semester 6 | Totals |
วิชาเอกดนตรีวิทยา (Musicology) | Plan A | 135,300 | 83,600 | 169,500 | 32,600 | 33,300 | 32,600 | 486,900 |
วิชาเอกดนตรีศึกษา (Music Education) | Plan A | 135,300 | 83,600 | 169,500 | 32,600 | 33,300 | 32,600 | 486,900 |
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาดนตรี เช่นดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต และครุศาสตรมหาบัณฑิต หรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง โดยได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 3.50
- มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
- ผู้สมัครเข้าศึกษาที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์
- การสอบข้อเขียนสำหรับวิชาเอก
- การสอบวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษ (TOEFL หรืออื่นๆ)
English Proficiency test
IELTS not less than 5 or
TOEFL-IBT not less than 61 or
TOEFL-ITP not less than 500
** ข้อมูลเพิ่มเติม
การสอบเข้าศึกษา: โทร 0 2800 2525 ต่อ 1109 / 1128
หลักสูตรและรายวิชา: โทร 0 2800 2525 ต่อ 1124
บัณฑิตวิทยาลัย www.grad.mahidol.ac.th