• College of Music

    Go GREEN

    อนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

  • อาคารประหยัดพลังงานวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    A. อาคาร A (อาคารภูมิพลสังคีต)

    H. พิพิธภัณฑ์ดนตรีอุษาคเนย์

    B. อาคาร B (หอแสดงดนตรี)

    I. อาคารเตรียมอุดมดนตรี

    C. อาคาร C (ห้องสมุดดนตรี)

    J. ศาลายาลิงค์

    D. อาคาร D

    K. ร้านท่ารถ

    E. ร้านอาหารมิวสิคสแควร์

    F. เรือนกลางน้ำ

    G. เรือนศิลปิน

  • สถิติการใช้พลังงานของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

  • กิจกรรมเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

  • กิจกรรมการเก็บขยะ

  • กิจกรรม MS Walk Rally

  • ปรับปรุงพื้นที่เก็บขยะ

  • กิจกรรมการเรียนการสอนวิชาจักรยาน

    วิชาจักรยาน เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน ในวิชาเรียน เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา ให้ความสำคัญของการใช้จักรยาน ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นการปลูกฝังคนรุ่นใหม่ใส่ใจสุขภาพและสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับนโยบาย ของมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green Campus) สิ่งที่ตามมาอย่างเห็นได้ชัด คือความสนุกสนาน และเป็นการออกกำลังกาย รวมไปถึงการปลูกฝังให้นักเรียนเคารพในกฏ ระเบียบ ของการใช้จักรยาน


  • กิจกรรมทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ

    กิจกรรมทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศตามอาคารต่างๆ


  • MS GO GREEN

    โครงการสัมมนาบุคลากร ประจำปี 2562 วันที่ 8-10 เมษายน 2562 ณ โรงแรมเดอะกรีนเนอรี่ รีสอร์ทเขาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา


  • Contact

    College of Music, Mahidol University Salaya Campus
    Address : 25/25 Phutthamonthon Sai 4 Road
    Salaya, Phutthamonthon, Nakhonpathom, 73170

    Telephone:(662) 800-2525-34, (662) 441-5300 ext. 1150

    FAX:(662) 800-2530

    E-mail: musicmupr@gmail.com

  • คณะกรรมการกำหนดแผนงานและเป้าหมายในการลดใช้พลังงาน

    คณะกรรมการนโยบาย

    1. ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ
    2. ประธานคณะกรรมการ
    3. นายกฤษติ์ บูรณวิทยวุฒิ
    4. กรรมการ
    5. นายสุหัตถ์ สังชญา
    6. กรรมการ
    7. นายดริน พันธุมโกมล
    8. กรรมการ
    9. นายนพดล ถิรธราดล
    10. กรรมการ
    11. นายริชาร์ด ราฟท์
    12. กรรมการ
    13. ผศ.ดร.โจเซฟ แอล โบวแมน
    14. กรรมการ
    15. นางสาวพรพรรณ มงคลคำนวณเขตต์
    16. กรรมการ
    17. นายพิทักษ์ เพ็งเจริญ
    18. กรรมการและเลขานุการ
    19. นางสาวอภิญญา พึ่งฉิ่ง
    20. กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

    หน้าที่ความรับผิดชอบคณะกรรมการนโยบาย
    โดยคณะกรรมการนโยบายมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดนโยบาย รูปแบบ และแนวทางการดำเนินการ รวมถึงสนับสนุนโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมและโครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office)



    คณะทำงานอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และโครงการสำนักงานสีเขียว

    1. คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์
    2. ที่ปรึกษา
    3. นายกฤษติ์ บูรณวิทยวุฒิ
    4. ประธานคณะทำงาน
    5. นายสุหัตถ์ สังชญา
    6. รองประธานคณะทำงาน
    7. นางชนิตา บูรณวิทยวุฒิ
    8. กรรมการ
    9. นางสาวชุติมา ภู่มณี
    10. กรรมการ
    11. นางสาวเพลินพิศ เพ็งสุวรรณ
    12. กรรมการ
    13. นางลลิล กลิ่นสมิทธิ์
    14. กรรมการ
    15. นายปิยะพงษ์ เอกรังษี
    16. กรรมการ
    17. นางสาวอริยวรรณ ทันวงษ์
    18. กรรมการ
    19. นายสุรชัย รอดขำ
    20. กรรมการ
    21. นายกิตติณัฐ์ ทองแพง
    22. กรรมการ
    23. นางสาวรัชรี เอี่ยมสำอางค์
    24. กรรมการ
    25. นางสาวปิยมน ชุมนุมดวง
    26. กรรมการ
    27. นางสาวเพ็ญพรรณ ชนะกิจเจริญ
    28. กรรมการ
    29. นายนพณรงค์ ทองเหลือง
    30. กรรมการ
    31. นางสาวจิตติยา เนาวเพ็ญ
    32. กรรมการ
    33. นางสาวกัลย์ธีรา สุภนิธิ
    34. กรรมการ
    35. นางสาวธัญญวรรณ รัตนภพ
    36. กรรมการ
    37. นายพิทักษ์ เพ็งเจริญ
    38. กรรมการและเลขานุการ
    39. นางสาวอภิญญา พึ่งฉิ่ง
    40. กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
    41. นางสาวสมบูรณ์ เปรมฤทธิ์
    42. กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

    โดยคณะทำงานชุดดังกล่าวมีหน้าที่ ดังนี้
    ๑. ให้ดำเนินการจัดการพลังงานในวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ให้สอดคล้องกับนโยบายอนุรักษ์พลังงานและวิธีการจัดการพลังงาน
    ๒. ควบคุมดูแลการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในสำนักงานของวิทยาลัยฯ ให้สอดคล้องกับนโยบายและเป็นไปตามกฏเกณฑ์ของสำนักงานสีเขียว (Green Office)
    ๓. ควบคุมดูแลจัดการพลังงานของวิทยาลัย ให้ดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพเป็นไปตามนโยบายอนุรักษ์พลังงานและวิธีการจัดการพลังงานของวิทยาลัย
    ๔. ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความร่วมมือในการปฏิบัติตามนโยบายการอนุรักษ์พลังงาน วิธีการจัดการพลังงานและการจัดการสิ่งแวดล้อมในสำนักงาน รวมทั้งการจัดการฝึกอบรมหรือกิจกรรมเพื่อสร้างจิตสำนึกบุคลากรของวิทยาลัย
    ๕. ทบทวนนโยบายอนุรักษ์พลังงานวิธีการจัดการพลังงานและการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในสำนักงานอย่างสม่ำเสมอ พร้อมรวบรวมข้อมูลเสนอแนะที่เกี่ยวข้อง
    ๖. จัดให้มีการรายงานการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องในวิทยาลัย ทราบ


    คณะกรรมการเครือข่ายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

    เพื่อให้การบริหารจัดการความปลอดภัยของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีประสิทธิภาพในการเสริมสร้างความปลอดภัยให้แก่นักศึกษาและบุคลากรทุกระดับ จึงแต่งตั้งคณะกรรมการเครือข่ายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (Network Committee for Occupational Safety,Health and Environment at Work) ของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ดังนี้
    ๑. ยกเลิกคำสั่งวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ที่ ๐๙๖/๒๕๖๒ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเครือข่ายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ฉบับวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๖๒
    ๒. แต่งตั้งคณะกรรมการเครือข่ายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ประกอบด้วย


    1. คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์
    2. ที่ปรึกษา
    3. นายสุหัตถ์ สังชญา
    4. ประธานคณะกรรมการ
    5. นายกฤษติ์ บูรณวิทยวุฒิ
    6. รองประธานคณะกรรมการ
    7. นางสาวชุติมา ภู่มณี
    8. กรรมการ
    9. นายสาธร เกาะกิ่ง
    10. กรรมการ
    11. นางชนิตา บูรณวิทยวุฒิ
    12. กรรมการ
    13. นางสาวเพลินพิศ เพ็งสุวรรณ
    14. กรรมการ
    15. นางลลิล กลิ่นสมิทธิ์
    16. กรรมการ
    17. นายปิยะพงษ์ เอกรังษี
    18. กรรมการ
    19. นายพิทักษ์ เพ็งเจริญ
    20. กรรมการ
    21. นายสุรชัย รอดขำ
    22. กรรมการ
    23. นายกิตติณัฐ์ ทองแพง
    24. กรรมการ
    25. นางสาวรัชรี เอี่ยมสำอางค์
    26. กรรมการ
    27. นางสาวปิยมน ชุมนุมดวง
    28. กรรมการ
    29. นางสาวเพ็ญพรรณ ชนะกิจเจริญ
    30. กรรมการ
    31. นายนพณรงค์ ทองเหลือง
    32. กรรมการ
    33. นางสาวจิตติยา เนาวเพ็ญ
    34. กรรมการ
    35. นางสาวกัลย์ธีรา สุภนิธิ
    36. กรรมการ
    37. นางสาวธัญญวรรณ รัตนภพ
    38. กรรมการ
    39. นายปฐมพร ทรัพย์เกิดปัญญา
    40. กรรมการและเลขานุการ
    41. นางสาวอริยวรรณ ทันวงษ์
    42. กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
    43. นางสาวอภิญญา พึ่งฉิ่ง
    44. กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

    โดยคณะทำงานชุดดังกล่าวมีหน้าที่ ดังนี้
    ๑. เสนอแผนงานแนวทางการบริหารจัดการและปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ทั้งในด้านที่เกี่ยวกับการเรียน การสอน การวิจัย การบริการวิชาการและการบริหารในหน่วยงานต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องและมาตรฐานสากล
    ๒. จัดทำระบบมาตรฐานการจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
    ๓. พิจารณาระบบและกลไกในการตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐาน เครื่องมือ อุปกรณ์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานและให้คำแนะนำต่อผู้บริหารวิทยาลัย
    ๔. ปฏิบัติภารกิจอื่น ๆ ตามที่วิทยาลัย หรือคณะกรรมการอำนวยการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานจะมอบหมาย
    ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป คำสั่งอื่นใดที่เกี่ยวข้องและประกาศใช้อยู่ก่อนคำสั่งนี้ ให้ยกเลิกและใช้คำสั่งนี้แทน

  • UI Green Metric

    การวางระบบโครงสร้างพื้นฐาน
    (Setting and Infrastructure)

    1. ขนาดพื้นที่ของส่วนงานที่ยังคงเป็นป่าคิดเป็น
    0.00 ตารางเมตร
    2. ต้นไม้/สวน/สนาม
    20,800.00 ตารางเมตร
    3. ส่วนอุ้มน้ำ
    8,000.00 ตารางเมตร
    4. พื้นที่ชั้นล่าง
    27,025.54 ตารางเมตร
    5. พื้นที่จอดรถ
    3,424.00 (คิดเป็นจำนวน 149 คัน)
    6. จำนวนประชากร: นักศึกษา (ข้อมูล ณ วันที่ 3 กันยายน 2563)
    ป.ตรี (ไทย/ต่างชาติ) 798 (756/42) คน
    ป.โท (ไทย/ต่างชาติ) 151 (123/28) คน
    ป.เอก (ไทย/ต่างชาติ)74 (49/25) คน
    จำนวนรวม (ไทย/ต่างชาติ) 1,023 (928/95) คน
    7. จำนวนประชากร: บุคลากร (ข้อมูล ณ วันที่ 3 กันยายน 2563)
    สายวิชาการ 144 คน
    สายสนับสนุน 192 คน
    จำนวนรวม 336 คน
    8. งบประมาณทั้งหมดของส่วนงาน แบ่งตามประเภท (ปีงบประมาณ 2563)
    งบประมาณแผ่นดิน
    97,786,926.00 บาท
    งบประมาณจากมหาวิทยาลัย
    3,874,078.00 บาท
    งบประมาณจากเงินรายได้
    38,027,100.00 บาท
    งบประมาณทั้งหมดของส่วนงาน
    139,688,104.00 บาท
    (คำนวณจาก งบประมาณแผ่นดิน + งบประมาณจากมหาวิทยาลัย + งบประมาณจากเงินรายได้)
    งบประมาณเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนที่กำหนด
    359,114.00 บาท
    งบประมาณเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนที่ใช้ไปแล้ว
    359,114.00 บาท

  • UI Green Metric

    การจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
    (Energy and Climate Change)

    1. การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพในการช่วยประหยัดพลังงาน
        มีการเปลี่ยนทดแทนบางส่วน ได้แก่ การเปลี่ยนหลอดไฟในอาคาร


    2. แหล่งพลังงานทดแทน
        - ไม่มี แหล่งพลังงานทดแทน

    3. มีปริมาณการใช้ใช้ฟ้าทั้งปี 2562
        จำนวน 3,098,710.63 กิโลวัตต์ชั่วโมง

    4. มีโครงการส่งเสริมหรือลดการใช้พลังงาน
        - ได้เริ่มดำเนินโครงการบ้างแล้ว
          4.1 กิจกรรมเผยแพร่มาตรการอนุรักษ์การประหยัดพลังงาน

                 4.1.1 บอร์ดนิทรรศการบริเวณอาคาร A บริเวณ โรงอาหารวิทยาลัยฯ


                 4.1.2 ​บอร์ดนิทรรศการบริเวณอาคาร C ชั้น 1


                 4.1.3 ​บอร์ดนิทรรศการบริเวณอาคาร D ชั้น 1 บริเวณบ่อปลาคาร์ฟ


                 4.1.4 ​ประชาสัมพันธ์ให้เจ้าหน้าที่ภายในมหาวิทยาลัยฯ รับทราบถึงนโยบาย และคุณค่าของพลังงาน เพื่อช่วยให้การประหยัดพลังงานมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผลมากขึ้น


                 4.1.5​ ​เอกสารแนะนำความรู้และการประหยัดพลังงานในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าเป็นพลังงาน ไฟฟ้า เชื้อเพลิง และอื่น ๆ สามารถหาอ่านได้ที่ห้องสมุด "จิ๋ว บางซื่อ"


          4.2 กิจกรรมเผยแพร่ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม


    5. องค์ประกอบอาคารสีเขียวในส่วนงาน
          5.1 อาคารที่ใช้การไหลเวียนของอากาศตามธรรมชาติ (Natural Ventilation)
          5.2 อาคารที่ใช้แสงอาทิตย์เพื่อการส่องสว่างภายในอาคาร (Full Day Lighting)
          5.3 อาคารสีเขียว
                - มีผังบริเวณและภูมิทัศน์ที่เอื้อต่อการลดการใช้พลังงาน เช่น ลดการใช้รถยนต์ น้ำ ไฟฟ้า
                - การอนุรักษ์น้ำ เช่น เลือกใช้สุขภัณฑ์และก๊อกแบบประหยัดน้ำ การนำน้ำฝนมาใช้
                - การป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการขยะ การลดมลพิษจากการก่อสร้าง มีระบบกำจัดกลิ่นและควัน มีระบบบำบัดน้ำเสีย
                - มีการควบคุมคุณภาพสภาวะแวดล้อมภายในอาคาร เช่น ติดฟิลม์กรองแสง หรือการรณรงค์เปิดแอร์ที่ 25 °C เป็นต้น

    6. โครงการหรือกิจกรรมลดโลกร้อนในส่วนงาน
          - โครงการตรวจประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องปรับอากาศประจำปี
          - โครงการพัฒนาศักยภาพของพนักงานวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ (กิจกรรมติดป้ายชื่อต้นไม้)
          - โครงการดูแลรักษาพฤกษาดุริยางค์เฉลิมพระเกียรติ
    7. นโยบายการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอนไดออกไซด์ และมีเทน)
        - นโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

  • UI Green Metric

    การจัดการของเสียในส่วนงาน
    (Waste Management)

    1. โครงการรณรงค์การรีไซเคิลขยะ
    2. การบำบัดขยะมีพิษ
    3. การบำบัดขยะอินทรีย์ เช่น เศษผักและพืช
          - ทิ้งในที่เปิดโล่ง
    4. มีโครงการส่งเสริมหรือลดการใช้พลังงาน
          - โครงการปรับปรุงระบบจัดเก็บขยะ
          - โครงการคัดแยกขยะเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
    5. การกำจัดขยะอนินทรีย์ เช่น เศษขยะ, กระดาษ, พลาสติก,โลหะที่ไม่ใช้แล้ว
          - นำไปทิ้งนอกพื้นที่ส่วนงาน
    6. การปล่อยน้ำเสีย
          - บำบัดก่อนที่จะปล่อยทิ้ง
    7. นโยบายการลดใช้กระดาษและพลาสติกในส่วนงาน

  • UI Green Metric

    การจัดการน้ำ (Water Management)

    1. นโยบาย/กิจกรรมการอนุรักษ์การใช้น้ำในส่วนงาน
          - โครงการบำบัดน้ำเสีย
          - โครงการใช้น้ำจากแหล่งธรรมชาติในการรดน้ำต้นไม้
    2. ปริมาณการใช้น้ำประปา
          ปี 2562 จำนวน 56,575.00 ลบ.ม.

  • UI Green Metric

    การสัญจร (Transportation Management)

    1. จำนวนยานพาหนะที่เป็นทรัพย์สินของส่วนงาน
          - รถบัส(ศาลายาลิงค์)   จำนวน 5 คัน
          - รถยนต์ส่วนบุคคล (รถเก๋ง+รถปิ๊กอัพ+อื่นๆ) 1 คัน
          - รถตู้   จำนวน 4 คัน
          - จักรยานยนต์   จำนวน 1 คัน
          - รถไฟฟ้า(กอล์ฟ)   จำนวน 1 คัน
    2. นโยบายในการจำกัดการใช้รถยนต์และจักรยานยนต์ในส่วนงาน
          - ได้ดำเนินนโยบายเต็มรูปแบบแล้ว
    3. มีนโยบายในการจำกัด หรือลดพื้นที่จอดรถในส่วนงาน
          - ได้ดำเนินนโยบายเต็มรูปแบบแล้ว
    4. รถโดยสารของส่วนงาน
          - มี แต่เก็บค่าบริการ
            โครงการ Salayalink รถบริการสาธารณะเพื่อชาวมหิดลและประชาชนทั่วไป


    Website: www.music.mahidol.ac.th/salayalink


    5. นโยบายในการใช้ทางเท้าและขี่จักรยาน
          - ไม่ได้กำหนดเป็นนโยบาย แต่มีการใช้จักรยานได้
          - ส่วนงานมีจักรยานให้บริการเอง
          - ส่วนงานมีทางจักรยาน
          - ส่วนงานมีทางเดินเท้า

  • UI Green Metric

    การศึกษาของส่วนงาน (Education)

    1.จำนวนหลักสูตรและรายวิชาที่เปิดสอนทั้งหมดในปีการศึกษา 2562
          - MUGE 1 หลักสูตร
          - ต่ำกว่าปริญญาตรี 1 หลักสูตร
          - ปริญญาตรี 1 หลักสูตร
          - ปริญญาโท 2 หลักสูตร
          - ปริญญาเอก 2 หลักสูตร
    2. จำนวนเงินวิจัยทั้งหมด (ปี 2563)
          - 1,650,000 บาท
    3. จำนวนผลงานตีพิมพ์ทั้งหมด (ปี 2563)
          - 4 เรื่อง 4. จำนวนกิจกรรมทางวิชาการที่เกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน เช่น การประชุม นิทรรศการ การดูงาน จัดสัมมนา กิจกรรมที่จัดโดยส่วนงาน (ปี 2563)
          - 2 ครั้ง
    5. จำนวน องค์กร/ชมกรม/กลุ่มกิจกรรมนักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน (ปี 2563)
          - 1 กลุ่ม/ชมรม
    6. จำนวน Website ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน (ปี 2563)
          - 2 Website

  • Music on Green

  • Policy

    นโยบายลดการใช้พลังงาน และ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

    ด้วยมหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดทำโครงการมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศน์ และกำหนดนโยบายบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน โดยมีกลยุทธ์ในการดำเนินงานเพื่อการสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศน์ประกอบด้วยกลยุทธ์สำคัญ ดังนี้ กลยุทธ์ส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร ( Resources Efficiency) กลยุทธ์ส่งเสริมความเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) กลยุทธ์ส่งเสริมพันธกิจสัมพันธ์กับชุมชน (Community Engagement) เพื่อสนับสนุนนโยบายของมหาวิทยาลัยมหิดลให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ จึงกำหนดเป้าหมายในการลดการใช้พลังงานและลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเทียบกับปี พ.ศ. 2563 ดังนี้

    1. วัตถุดิบ มีการจัดซื้อจัดจ้างหรือบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของงบประมาณที่จัดซื้อจัดจ้างทั้งหมด

    2. พลังงาน

    1. ไฟฟ้า ปริมาณการใช้ไฟฟ้า ไม่เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2563
    2. น้ำมันเชื้อเพลิง ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ไม่เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2563

    3. น้ำ ปริมาณการใช้น้ำลดลงร้อยละ 2 จากปี พ.ศ. 2563

    4. กระดาษ ปริมาณการใช้กระดาษ ไม่เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2563

    5. กากของเสีย มีการคัดแยกขยะและปริมาณขยะ Recycle มากกว่าปริมาณขยะทั้งหมดในปีปัจจุบัน ร้อยละ 2

    6. อาคาร มีองค์ประกอบอาคารเขียว

    7. ก๊าซเรือนกระจก ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไม่เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2563

    ทั้งนี้ ให้ทุกหน่วยงานและบุคลากรวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ถือปฏิบัติตามนโยบายลดการใช้พลังงานและการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อสนับสนุนโครงการมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศน์ของมหาวิทยาลัยมหิดลให้บรรลุผลสำเร็จต่อไป


    เอกสารดาวน์โหลด นโยบายลดการใช้พลังงาน และ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

    ปี 2564

    ปี 2563

  • Policy

    มาตรการประหยัดพลังงานในอาคารวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    ด้วยมหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดทำโครงการมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศน์ และกำหนดนโยบายบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน โดยมีกลยุทธ์ในการดำเนินงานเพื่อการสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศน์ประกอบด้วยกลยุทธ์สำคัญ ดังนี้ กลยุทธ์ส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร ( Resources Efficiency) กลยุทธ์ส่งเสริมความเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) กลยุทธ์ส่งเสริมพันธกิจสัมพันธ์กับชุมชน (Community Engagement) เพื่อสนับสนุนนโยบายของมหาวิทยาลัยมหิดลให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ จึงกำหนดมาตราประหยัดพลังงานในอาคารวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ เป็น 2 ส่วน ดังนี้

    1. บุคลากรของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์

    1 ระบบไฟฟ้า

    1. เครื่องใช้ไฟฟ้า
      1. ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดในช่วงพักเที่ยงหรือไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานานๆ ยกเว้นกรณีจำเป็น
      2. ปิดพัดลมพื้นที่ส่วนกลางทุกครั้งเมื่อไม่ได้ใช้งาน
      3. ปิดสวิตช์ไฟฟ้า พร้อมถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อเลิกใช้งาน
    2. ไฟฟ้าแสงสว่าง
      1. ปิดไฟฟ้าแสงสว่างพื้นที่ส่วนกลางและอาศัยแสงสว่างจากธรรมชาติ เช่น ห้องโถง ทางเดินส่วนกลาง ห้องน้ำ
      2. เปิดไฟเฉพาะจุดที่ต้องการใช้ สถานที่ที่ต้องการความปลอดภัย
      3. ปิดไฟฟ้าแสงสว่างในห้องทำงานบางส่วน เปิดม่านเพิ่มแสงสว่าง
      4. ลดจำนวนหลอดในโคมและปิดไฟในกรณีที่ไม่ใช้งาน เช่น ห้องน้ำ ห้องโถง โถงลิฟต์ ทางเดินส่วนกลาง ห้องเก็บของ ห้องเก็บเอกสาร
      5. ปิดไฟฟ้าแสงสว่างทุกครั้งเมื่อไม่ได้ใช้

    2 ระบบปรับอากาศ

    1. ในวันทำงาน
      1. ปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศ อยู่ในระดับ 25-26 องศาเซนเชียล
      2. ปิดเครื่องปรับอากาศเมื่อเลิกใช้งาน และ ก่อนเวลาเลิกงาน 30 นาที
      3. ไม่ควรใส่เสื้อผ้าหนาหรือสวมสูทมาประชุม เพราะจะทำให้ต้องใช้ความเย็นเพิ่มขึ้น
      4. หลีกเลี่ยงการเก็บวัสดุที่ไม่จำเป็นในห้องปรับอากาศ
      5. ป้องกันความร้อนเข้า และความเย็นรั่วไหล เช่น ไม่เปิดแอร์ พร้อมกับเปิดประตูทิ้งไว้
    2. ในวันหยุดราชการ
      1. ในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เปิดเครื่องปรับอากาศ เวลา 12.00 - 16.30(สำหรับห้องซ้อม) หากมีความจำเป็นต้องเปิดเครื่องปรับอากาศ ต้องขออนุญาตเปิดเครื่องปรับอากาศและต้องได้รับอนุญาตจากรองคณบดีฝ่าบยริหารให้เรียบร้อย จึงจะดำเนินการเปิดเครื่องปรับอากาศได้

    3. ระบบลิฟต์

    1. ขึ้น – ลง ชั้นเดียวใช้บันได ไม่ควรใช้ลิฟต์
    2. หหลีกเลี่ยงการใช้ลิฟต์บรรทุกเกินน้ำหนัก
    3. ให้ลิฟต์เปิด – ปิดอัตโนมัติ

    4. เครื่องคอมพิวเตอร์

    1. ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เมื่อไม่ได้ใช้งาน
    2. ตั้งเวลาหน่วง (Delay Time) ในเวลาที่ไม่ใช้งานเกิน 15 นาทีสำหรับจอภาพ และ 30 นาทีสำหรับตัวเครื่อง
    3. หลีกเลี่ยงการเล่นเกมส์และติดต่อเรื่องส่วนตัวกับผู้อื่น

    5. เครื่องพิมพ์ผล

    1. ตรวจทานความถูกต้องของข้อความบนหน้าจอก่อนสั่งพิมพ์
    2. ควรใช้ E-mail ในการส่งเอกสาร
    3. ปิดเครื่องพิมพ์ผลพร้อมถอดปลั๊กเมื่อไม่ได้ใช้งาน หรือหลังเลิกงาน
    4. ใช้เครื่องพิมพ์ผลร่วมกัน

    6. เครื่องถ่ายเอกสาร

    1. กดปุ่มพักเครื่องถ่ายเอกสารเมื่อใช้งานเสร็จ
    2. ปิดเครื่องถ่ายเอกสารพร้อมถอดปลั๊กหลังเลิกงาน

    7. โทรศัพท์

    1. ตรวจสอบเลขหมายให้ถูกต้องก่อนโทร
    2. เตรียมข้อมูลเพื่อการสนทนาเพื่อประหยัดเวลา

    8. เครื่องโทรสาร

    1. ส่งเอกสารทาง E-mail แทนการส่งเป็นเอกสาร

    9.พัดลม

    1. ปิดทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน
    2. ถอดปลั๊กหลังการใช้งานทุกครั้ง

    10. ตู้เย็น

    1. ควรปิดประตูตู้เย็นให้สนิทเมื่อเลิกใช้งาน
    2. ไม่นำของร้อนเข้าตู้เย็น
    3. ละลายน้ำแข็งภายในตู้อย่างสม่ำเสมอ
    4. ตั้งอุณหภูมิให้เหมาะสม

    11. กระติกน้ำร้อนและเครื่องทำน้ำ 3 อุณหภูมิ

    1. ถอดปลั๊กหลังการใช้งานทุกครั้ง
    2. ใส่น้ำให้เหมาะสมกับการต้องการใช้
    3. ไม่ตั้งไว้ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ

    12. เตาอบไมโครเวฟ

    1. เลือกภาชนะให้เหมาะสมกับปริมาณการอุ่น
    2. ไม่อุ่นอาหารที่มีปริมาณมากเกิน

    13. น้ำประปา

    1. ใช้สบู่เหลวแทนสบู่ก้อน
    2. ไม่เปิดน้ำทิ้งขณะถูสบู่
    3. ใช้น้ำล้างเท่าที่จำเป็น
    4. ควรมีภาชนะรองน้ำขณะล้างแทนการล้างตรงจากก๊อกน้ำ
    5. ไม่ควรรดน้ำต้นไม้ขณะแดดจัด

    14. น้ำมันเชื้อเพลิง

    1. ตรวจสอบลมยางเป็นประจำอย่าให้อ่อนเกินไป
    2. ดับเครื่องทุกครั้งเมื่อจอดรถเป็นเวลานาน
    3. ไม่สตาร์ทเครื่องยนต์ทิ้งไว้
    4. ไม่ควรบรรทุกน้ำหนักเกินกำหนด
    5. ไม่ควรปรับอุณหภูมิภายในรถให้เย็นเกินไป

    15. กระดาษ

    1. ใช้กระดาษทั้ง 2 หน้า
    2. ส่งต่อเอกสารลดการถ่ายสำเนาหลายๆ ชุด
    3. ส่งผ่านข้อมูลข่าวสารทางระบบ IT
    4. ลดการใช้จานกระดาษและแก้วกระดาษในงานเลี้ยง

    เอกสารดาวน์โหลด มาตรการประหยัดพลังงานในอาคารวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    ปี 2564

    ปี 2563

  • Policy

    งดใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมในวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ พ.ศ. 2562

    เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในการลดปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟม และส่งเสริมการป้องกันมลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ประเภทโฟม อันจะเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

    วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ จึงขอประกาศเรื่อง งดใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมในวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ พ.ศ. 2562 ตามแนวทางดังต่อไปนี้

    1. ห้ามนำภาชนะที่เกิดจาก บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟม เข้ามาในอาคารวิทยาลัยดุริยางคศิลป์
    2. ให้ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และใช้วัสดุจากธรรมชาติในกระบวนการผลิต
    3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากร นักศึกษา และประชาชนใช้ภาชนะส่วนตัว อาทิ กล่องอาหาร ปิ่นโต แก้วน้ำ ถุงผ้า

    เอกสารดาวน์โหลด งดใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมในวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ พ.ศ. 2562

  • Policy

    นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

    ด้วยวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มีความห่วงใยต่อความปลอดภัย สุขภาพ และสภาพแวดล้อมในการทำงานของบุคลากรทุกคน จึงมุ่งมั่นให้มีการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ควบคู่กับภารกิจของส่วนงาน และได้กำหนดนโยบายไว้ดังนี้

    1. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ถือว่าความปลอดภัยในการทำงาน เป็นหน้าที่ของบุคลากรทุกคน ทุกระดับที่จะร่วมมือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งของตนเอง และผู้อื่น
    2. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ จะส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อม และวิธีการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย รวมถึงการรักษาไว้ซึ่งสุขภาพอนามัยที่ดีของบุคลากร
    3. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ กำหนดนโยบายให้มีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้สอดคล้องตามหน้าที่ของกฎหมายความปลอดภัยฯ
    4. ผู้บริหารทุกคน ทุกระดับ ต้องมีหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบ ในเรื่องความปลอดภัยในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา ให้เป็นไปตามกฎระเบียบแห่งความปลอดภัยที่กำหนดขึ้นโดยเคร่งครัด
    5. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ จะส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
    6. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ จะจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

    เอกสารดาวน์โหลด นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

  • .01 Map